สงครามสร้างประโยชน์ (แต่ความสูญเสียมากกว่า)
รู้หรือไม่ว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์หลายอย่างเกิดขึ้นในสมัยสงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 1 ถือเป็นครั้งแรกที่อานุภาพการทำลายล้างของอาวุธคร่าชีวิตคนได้มากกว่าโรคระบาดครั้งใหญ่ ไม่เพียงแค่นั้นยังทำให้เกิดการบาดเจ็บพิการอีกเป็นจำนวนมาก จึงเร่งให้เกิดการพัฒนาการทำแขนขาเทียม ที่เดิมทำจากไม้เพราะเป็นวัสดุธรรมชาติที่สามารถทำให้พับงอได้ มาใช้วัสดุที่เบาขึ้น ใช้งานได้ดีขึ้น
การถ่ายเลือดก็เช่นกัน ได้รับการพัฒนาการเก็บรักษาเลือดไม่ให้แข็งตัว เพื่อยืดอายุนานพอที่จะนำไปให้กับทหารที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้าได้อย่างปลอดภัย ทั้งก่อนการผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และให้เลือดหลังการผ่าตัด รวมทั้งยังใช้การถ่ายเลือดเพื่อช่วยทหารที่ได้รับพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ด้วย
การทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าให้กับทหารที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดหรืออาวุธปืน ส่งผลให้ศัลยกรรมพลาสติกกลายเป็นสาขาการแพทย์เฉพาะทาง แยกออกมาจากศัลยศาสตร์ ช่วยให้คนไข้ไม่ต้องทนทุกข์กับความบิดเบี้ยวและผิดปกติของใบหน้า นอกจากนี้ ยังต่อยอดไปถึงการพัฒนาเทคนิคการฆ่าเชื้อ และการดมยาสลบ เพื่อให้การผ่าตัดปลอดภัยยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับการพัฒนาระบบอัลตราซาวด์ จนกระทั่งนำมาใช้ในทางการแพทย์