Blog (TH)
สงครามสร้างประโยชน์ (แต่ความสูญเสียมากกว่า)
รู้หรือไม่ว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์หลายอย่างเกิดขึ้นในสมัยสงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 1 ถือเป็นครั้งแรกที่อานุภาพการทำลายล้างของอาวุธคร่าชีวิตคนได้มากกว่าโรคระบาดครั้งใหญ่ ไม่เพียงแค่นั้นยังทำให้เกิดการบาดเจ็บพิการอีกเป็นจำนวนมาก จึงเร่งให้เกิดการพัฒนาการทำแขนขาเทียม ที่เดิมทำจากไม้เพราะเป็นวัสดุธรรมชาติที่สามารถทำให้พับงอได้ มาใช้วัสดุที่เบาขึ้น ใช้งานได้ดีขึ้น
การถ่ายเลือดก็เช่นกัน ได้รับการพัฒนาการเก็บรักษาเลือดไม่ให้แข็งตัว เพื่อยืดอายุนานพอที่จะนำไปให้กับทหารที่ได้รับบาดเจ็บในแนวหน้าได้อย่างปลอดภัย ทั้งก่อนการผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และให้เลือดหลังการผ่าตัด รวมทั้งยังใช้การถ่ายเลือดเพื่อช่วยทหารที่ได้รับพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ด้วย
การทำศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าให้กับทหารที่ได้รับผลกระทบจากระเบิดหรืออาวุธปืน ส่งผลให้ศัลยกรรมพลาสติกกลายเป็นสาขาการแพทย์เฉพาะทาง แยกออกมาจากศัลยศาสตร์ ช่วยให้คนไข้ไม่ต้องทนทุกข์กับความบิดเบี้ยวและผิดปกติของใบหน้า นอกจากนี้ ยังต่อยอดไปถึงการพัฒนาเทคนิคการฆ่าเชื้อ และการดมยาสลบ เพื่อให้การผ่าตัดปลอดภัยยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกับการพัฒนาระบบอัลตราซาวด์ จนกระทั่งนำมาใช้ในทางการแพทย์
เกล็ดเลือดมหัศจรรย์
เรารู้กันมานานแล้วว่าเกล็ดเลือดทำหน้าที่ห้ามเลือดและสมานแผล
ความพยายามถอดรหัสการทำงานของเกล็ดเลือดทำให้ค้นพบว่าเกล็ดเลือดทำอะไรได้อีกมาก และก่อประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมหาศาล
ในเกล็ดเลือดมีสารที่เรียกว่า Growth factors ซึ่งเป็นตัวสำคัญในกระบวนการห้ามเลือดและสมานแผล
ใบหน้าซีกซ้ายรู้สึกเจ็บมากกว่าซีกขวาจริงหรือ?
เคยสังเกตตัวเองกันไหม ว่าใบหน้า 2 ข้าง รับความรู้สึกได้ต่างกันหรือเปล่า
ข้างหนึ่งจะรู้สึกเจ็บมากกว่าอีกข้างหนึ่งไหม
ว่าด้วยเรื่องสารกันแดด
เคยสงสัยกันไหมว่าคนสมัยก่อนทากันแดดไหม และใช้อะไรทา
การปกป้องผิวจากแสงแดดมีมานานนับพันปี ต่อให้ยังไม่มีครีมกันแดดแบบที่เห็นในปัจจุบันก็ตาม
ไม่มีใครรู้ว่ามนุษย์เราเริ่มปกป้องผิวจากแสงแดดตั้งแต่เมื่อไหร่แน่ แต่ที่สืบค้นได้อย่างน้อยก็ย้อนไปในสมัยอียิปต์โบราณ
แต่ไม่เชิงว่าในสมัยนั้นตระหนักถึงภัยจากแสงแดดว่าสามารถทำอันตรายต่อผิวได้ เพราะที่ทากันแดดก็เพื่อความงามเป็นหลัก
ชาวอียิปต์โบราณมีค่านิยมว่าผิวขาวแปลว่าสวย ซึ่งจริงๆ แล้ว ผิวสีอ่อนเป็นสิ่งบ่งบอกสถานะทางสังคม เนื่องจากดินแดนอียิปต์ตั้งอยู่ในเขตทะเลทรายที่มีแดดจัดและอากาศแห้ง ผู้ที่จะมีผิวขาวได้ ต้องไม่ใช่ชนชั้นแรงงานที่ตากแดดตากลม ค่านิยมความสวยดังกล่าวจึงถูกกำหนดโดยชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง
ไขมันหน้าท้อง
คนที่ลดน้ำหนักหลายคนมักรู้สึกเหมือนๆ กันว่าหน้าท้องนั้นลดยากเย็น
เพราะถ้าเป็นเรื่องของไขมันแล้ว Location does matter!
ไขมันแบ่งง่ายๆ เป็น 2 ชนิด คือ Subcutaneous fat และ Visceral fat
Subcutaneous fat เป็นไขมันใต้ผิวหนัง จับแล้วนิ่มๆ เกาะอยู่บริเวณต้นแขน ต้นขา สะโพก และหน้าท้อง สังเกตง่ายๆ เป็นเนื้อส่วนที่เราเอานิ้วหนีบดูได้
แต่หน้าท้องยังมีไขมันอีกตัว เรียกว่า Visceral fat ซึ่งมองไม่เห็นจากภายนอก เพราะอยู่ภายในช่องท้องรอบๆ อวัยวะภายใน โดยเฉพาะตับ กระเพาะ และลำไส้ แถมยังเกาะที่ผนังเส้นเลือดแดงได้ด้วย
แม้ในคนผอมก็มี Visceral fat อย่างที่ว่ากันว่า ผอมแต่มีพุง
Skin type vs. Skin condition
หลายคนสงสัยว่าตัวเองมีผิวแบบไหนกันแน่
บางคนเข้าใจมาตลอดว่าเป็นคนผิวมัน แต่หลังจากทายารักษาสิว ผิวกลับลอกเหมือนคนผิวแห้ง
ในคนที่เป็นโรค Sebderm หรือผื่นแพ้ต่อมไขมัน มักไม่แน่ใจว่าตัวเองมีผิวแพ้ง่าย หรือผิวมัน แต่บางครั้งหน้าก็ลอกแบบผิวแห้ง
ที่เป็นแบบนี้ เพราะเราคิดว่า Skin type กับ Skin condition เป็นเรื่องเดียวกัน
แต่ที่จริงแล้วประเภทของผิว (Skin type) และสภาพผิว (Skin condition) ต่างกันโดยสิ้นเชิง